สะพานชาลส์ (Charles Bridge) เป็นสะพานประวัติศาสตร์ ข้ามแม่น้ำวัลทาวา ในกรุงปราก ประเทศเช็กเกีย เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1357 ในพระบรมราชานุเคราะห์จากจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สร้างเสร็จเมื่อตอนเริ่มศตวรรษที่ 15 สะพานแห่งนี้สร้างแทนสะพานจูดิท ที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1158–1172 ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในปี ค.ศ. 1342 จึงได้มีการก่อสร้างสะพานใหม่ แรกเริ่มใช้ชื่อว่า สะพานสโตน (Stone Bridge) หรือสะพานปราก (Prague Bridge) และมาเปลี่ยนชื่อมาเป็นสะพานชาลส์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1870

สะพานมีความยาว 621 เมตร (2,037 ฟุต) และมีความกว้างเกือบ 10 เมตร (33 ฟุต) สร้างตามแบบสะพานสโตนในเรเกนส์บูร์ก เป็นสะพานโค้งประกอบด้วยช่องโค้ง 16 ช่อง

ศตวรรษที่ 13 สะพานชาลส์โดยปรกติแล้วจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมายและเช่นเดียวกันกับชาวเช็กยิ่งเฉพาะในช่วงเดือนฤดูใบไม้ผลิและช่วงฤดูร้อน แน่นอนว่าสะพานชาลส์จัดอยู่ในอันดับต้นๆที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในเมืองนี้ และเป็นสถานที่อันดับต้นๆในรายการที่คุณจะไปเยี่ยมชม ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือตอนเช้าที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์นี้และเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน แต่อย่างไรก็ตามการเดินเล่นผ่านแสงไฟยามค่ำคืนก็เป็นสิ่งที่สวยงามประทับใจอีกอย่างหนึ่งของกรุงปราก แผงขายของฝากมากมายตั้งเรียงรายอยู่ตามถนนหนทางดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเดียวกันกับนักดนตรีข้างถนนที่บรรเลงเพลงของตัวเองจากหัวใจของพวกเขาสู่ใจของคุณยามที่คุณเดินผ่าน และคุณยังสามารถเป็นเจ้าของภาพวาดใบหน้าของคุณโดยศิลปินนักวาดภาพล้อเลียน ก็นับเป็นของที่ระลึกอีกอย่างที่จะได้น่านำกลับบ้านเช่นกัน

สะพานชาลส์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือแห่งนี้ทอดตัวข้ามแม่น้ำวัลตาวา (Vltava River) ในกรุงปราก และสะพานได้เชื่อมต่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างยุโรปตะวันออกและตะวันตก และทำให้กรุงปรากเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองแห่งเส้นทางการค้าขาย ตัวสะพานดั้งเดิมเคยถูกขนานนามว่า สะพานหิน หรือ สะพานแห่งกรุงปราก แต่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สะพานชาลส์” “Charles Bridge” เมื่อปี ค.ศ. 1870

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงโปรดให้สถาปนิกและช่างก่อสร้างชื่อ ปีเตอร์ พาร์เลอร์ (Peter Parler) ให้สร้างสะพานที่ทันสมัยในยุคนั้น ในความคิดเริ่มแรกคือการสร้างแล้วสามารถที่จะใช้ประโยขน์ในการแข่งขันการต่อสู้บนหลังม้า  และหลายปีผ่านไปการตกแต่งสะพานแห่งนี้มีเพียงแค่กางเขนที่มีรูปหุ่นพระเยซูถูกตรึงอยู่เท่านั้นเอง หลังจากนั้นความปรารถนาของชาวคาทอลิคที่มีต่อการประดับประดาตกแต่งสะพานให้ดูสวยงามขึ้น ก็ได้ลงเอยกันด้วยการจัดสร้างรูปปั้นเพิ่มเติม 30 รูป และเริ่มสร้างตั้งแต่ปี (ค.ศ.1600 ถึงปี 1800)

สะพานชาลส์ กรุงปราก

ปัจจุบันนี้รูปปั้นส่วนใหญ่เป็นของเลียนแบบ ส่วนสาเหตุที่ทำให้รูปปั้นเสียหายและได้ทำของเลียนแบบขึ้นมาคือจากการถูกน้ำท่วมซ้ำหลายครั้งหลายครา และภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นในหลายๆศตวรรษที่ผ่านมา และรูปปั้นที่เก่าแก่ที่สุดตรงนี้คือ รูปปั้นไม้กางเขนที่มีพระเยซูถูกตรึงอยู่ (ค.ศ.1657) ตั้งอยู่ตรงไกล้กับปลายสะพานด้านเมืองเก่า (Old Town) ข้อความที่จารึกในแผ่นป้ายภาษาฮิบบรูที่เคลือบทองเขียนไว้ว่า “แด่พระเจ้าผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์” ‘Holy, holy, holy, the Lord of Hosts’ ด้วยการได้ทุนการสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1694 โดยการเรียกค่าปรับจาก อีเลียส แบ็คโคเฟน (Elias Backoffen) ชาวยิวในสมัยนั้น ในทุกวันนี้มีรูปปั้นอยู่ 75 รูปและบางทีอาจเป็นไปได้ว่ารูปปั้นที่น่าสนใจและเก่าแก่ที่สุดคือรูปปั้นของ จอหน์ เนปโปมุค (John Nepomuk) (รูปปั้นที่ 8 ทางขวามือถ้าหากคุณข้ามมาจากทางปราสาท) ในตำนานกล่าวไว้ว่าถ้าคุณได้เอามือลูบกับแผ่นจารึกทองแดงที่อยู่ตรงฐานของรูปปั้นนั้นแล้ว แน่นอนว่าสักวันหนึ่งคุณต้องหวนกลับมายังกรุงปรากอีกครั้ง และนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมาล้วนแต่ได้เอามือลูบแผ่นจารึกนั้นทั้งสิ้น จนกลายเป็นแผ่นสีทองแววาวสุกใส

นักบุญเนโปมุก กรุงปราก

นักบุญจอห์น เนโปมุก (St. John Nepomuk) ซึ่งท่านถือเป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์ โดยมีตำนานเล่าว่า วันหนึ่งนักบุญจอห์น เนโปมุกได้รับฟังคำสารภาพบาปของพระราชินีพระเจ้าเวนเซสลาสที่ 4 และตามธรรมเนียมนักบุญที่รับฟังคำสารภาพบาปก็ต้องเก็บเรื่องที่ได้ฟังไว้เป็นความลับ เมื่อพระราชินีมาสารภาพบาปบ่อยเข้า เรื่องก็ทราบถึงหูพระราชา ทำให้พระองค์เกิดความสงสัยว่าพระราชินีมาสารภาพบาปเรื่องอะไรบ่อยนัก จึงเดินทางมาหาความจริงจากบาทหลวงเนโปมุก แต่ท่านบาทหลวงได้ถือคติ เสียชีพอย่าเสียสัตย์ จึงไม่ยอมปริปากบอกสิ่งใดแก่พระราชา พระราชาจึงกริ้วมาก และจับท่านบาทหลวงถ่วงแม่น้ำวัตตาวาเป็นการลงโทษ และเมื่อท่านตายไปก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นดวงดาว 5 ดวงขึ้นเหนือน้ำตรงที่รูปปั้นของท่านได้ตั้งอยู่นั่นเอง นักท่องเที่ยวที่ได้ไปเดินเล่นบนสะพานชาร์ลก็มีความเชื่อว่า ถ้าหากลูบท่านนักบุญเนโปมุกก็จะได้กลับมากรุงปราคอีก ซึ่งผมก็ได้กลับมาอีกครั้งจริงๆ

ตัวสะพานมีความยาวทั้งสิ้น 516 เมตร ประกอบด้วยตอม่อ 16 ต้น และหอสะพานสามแห่ง หนึ่งในจำนวนหอสะพานคือหอสะพานเมืองเก่า (Old Town Bridge Tower) ที่ได้รับการพิจารณายกย่องให้เป็นหอสะพานที่สวยที่สุดในยุโรป เป็นเพราะการตกแต่งผลงานการปั้นแกะสลักหรือรูปหล่อที่สวยงามสมบูรณ์แบบ หอสะพานนี้ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการชมทิวทัศน์จากดาดฟ้าของหอคอยสะพานเพื่อชื่นชมกับสุดยอดของแสงแห่งรุ่งอรุณยามเช้าด้วย

สะพานทาวเวอร์

สะพานซึ่งเป็น 516 เมตรยาว 16 มีเสาและหอคอยสามสะพาน ที่ด้านตะวันออกของสะพานชาลส์ในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 14 เมืองทาวเวอร์สะพานเก่าแก่ได้รับการออกแบบโดยปีเตอร์ parler สร้างเป็นป้อมปราการและยังเป็นประตูชัยเครื่องหมายทางเข้าสู่เมืองเก่าคือ เมืองเก่าสะพานทาวเวอร์จะถือเป็นหอสะพานที่สวยที่สุดในยุโรปเนื่องจากการตกแต่งประติมากรรมที่หลากหลาย  หอเปิดให้เข้าชมและคำสั่งมุมมองที่น่าทึ่งจากหลังคาแข็งที่ดีที่สุดในที่มีแสงรุ่งอรุณต้น ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 75 CZK เด็ก 55 CZK เปิดบริการ 10:00-11:00 เม.ย.-กันยายน 22:00 มี.ค. – ต.ค. ถึง 08:00 พ.ย.-ก.พ. www.prazskeveze.cz

สะพานชาลส์ กรุงปราก

ที่ Townside เลสเซอร์ของชาร์ลส์ทาวเวอร์บริดจ์อีกอย่างก็คือ ความสูงสะพานเมืองเลสเซอร์ทาวเวอร์จะเปิดให้ประชาชนและบ้านเรือนที่จัดแสดงเกี่ยวกับนักเล่นแร่แปรธาตุในช่วงรัชสมัยของรูดอล์ฟที่มีมุมมองจากด้านบน ค่าเข้าชม: ผู้ใหญ่ 50 CZK เด็ก 30 CZK เปิดบริการ: 10:00-18:00 เม.ย. พฤศจิกายน