กรุงปรากได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งปราสาทร้อยยอด เมืองแห่งทองคำ เมืองสุดยอดอารยธรรม รวมทั้งเป็นหัวใจแห่งยุโรป

การขนานนามปรากเป็นเมืองหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดในโลกนั้นไม่ถือว่าเป็นการกล่าวเกินจริงเลย มีเพียงไม่กี่เมืองที่มีบรรยากาศและประวัติศาสตร์เช่นนี้ ศิลปะตระการตาและความเลิศหรูทางสถาปัตยกรรม

กรุงปรากเป็นเมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐเช็ก และกลายเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวระยะสั้นที่ได้รับความนิยมที่สุดในยุโรป  กรุงปรากเป็นเมืองที่น่าตื่นตาตื่นใจ พรั่งพร้อมไปด้วยศิลปะ ดนตรี การเต้นรำ ภาพยนตร์และละครเวที ทั้งยังเป็นอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมยุโรปขนานแท้ เป็นเมืองที่สวยงามและแสนจะโรแมนติก เต็มไปด้วยทัศนียภาพที่สวยงามเกินบรรยาย มีสวนที่เงียบสงบ คุณอาจพายเรือเล่นหรือเดินทอดน่องไปตามตรอกแคบๆ บนถนนที่โรยด้วยกรวดหิน แม้ว่าประวัติศาสตร์ของกรุงปรากสามารถนับย้อนไปได้กว่าพันปี แต่นครหลวงของเช็กแห่งนี้ก็มีความเป็นเมืองสมัยใหม่ที่มีโรงแรมหรูหรา ภัตตาคารชั้นเลิศที่มีอาหารเช็กต้นตำรับและอาหารนานาชาติไว้บริการ รวมทั้งคลับทันสมัยและผับที่เร้าใจ
กรุงปรากเป็นเมืองที่รอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมที่งดงาม ทั้งยังมีสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่โดดเด่น ถนนสายคดเคี้ยว รวมทั้งทัศนียภาพที่ขึ้นชื่อ อาทิเช่น สะพานชาร์ลส์ จัตุรัสเมืองเก่า ปราสาทปราก พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ในเมือง 866 เฮคเตอร์ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกเมื่อปี 1992 กรุงปรากเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ชวนหลงใหล และผู้คนก็อบอุ่นเป็นมิตร

เมืองนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์เป็นเวลากว่า 40 ปีและแทบจะไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเลยจนกระทั่งในปี 1989 เมื่อเกิดปฏิวัติแดง (The Velvet Revolution) ขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1989 (ปัจจุบันถือเป็นวันหยุดราชการของสาธารณรัฐเช็ก) ที่ได้เปลี่ยนโฉมหน้าเมืองนี้ ปัจจุบัน กรุงปรากเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป นอกจากกรุงปรากจะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็กแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย มีนักเขียน ศิลปิน นักกรีฑา นักกีฬา นางแบบรวมทั้งผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังหลายต่อหลายคนเกิดที่นี่ ทุกแห่งหนในกรุงปราก คุณจะได้ค้นพบโฉมหน้าทางประวัติศาสตร์อันหลากหลายนับย้อนไปตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันอันรุ่งเรือง จักรวรรดิฮับสบูร์ก สาธารณรัฐเชคโกสโลวักที่หนึ่ง (1918) การยึดครองแคว้นโบฮีเมียและโมราเวียของนาซี สาธารณรัฐสังคมนิยมเชคโกสโลวาเกีย หรือในปัจจุบันที่เป็นประเทศสาธารณรัฐเช็กซึ่งเป็นประชาธิปไตย

ปราก Prague หรือ ปราฮา (เช็ก: Praha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเช็กเกีย มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อ ค.ศ. 1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก

ประวัติ

พื้นที่บริเวณกรุงปรากมีคนอาศัยตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาล โดยช่วงแรกเป็นเผ่าเคลต์ (Celt) ก่อนจะถูกรุกรานโดยเผ่าเยอรมนิก (Germanic) และถูกครอบครองโดยเผ่าสลาฟในคริสต์ศตวรรษที่ 4

ประมาณ 200 ก่อนปีคริสต์ศักราช ชาวเคลต์ได้ตั้งอาณานิคมขึ้นทางตอนใต้ มีชื่อว่า Závis แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 4 ชาวสลาฟได้เข้าครอบครองดินแดนนี้ จนในศตวรรษที่ 7 วัฒนธรรมของทั้งสองเผ่าพันธ์ได้ ผสมผสานกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

มีตำนานกล่าวขานว่า เจ้าหญิง Libuše ได้สมรสกับเจ้าชาย Premysl และก่อตั้งราชวงศ์ Premysl ทั้งสองโปรดให้มีการสร้างปราสาทนาม Libusin ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของแคว้นโบฮีเมีย เจ้าหญิง Libuše ยังได้ทรงเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าและทรงทำนายว่า จะมีการก่อสร้างปราสาทซึ่งสูงสง่าอลังการเทียมฟ้า

ส่วนตัวเมืองปรากนั้นมีหลักฐานว่าสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และเป็นเมืองหลวงของแคว้นโบฮีเมีย ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 กษัตริย์บอริวอจ พรีมิสโลเวก (Borivoj Premyslovec) ทรงสร้างปราสาทขนาดใหญ่บนเขาสูงสง่าเหนือแม่น้ำ Vltava (ชาวเยอรมันเรียกแม่น้ำนี่ว่า Moldau) เขา Hradchin และมีการขนานนามปราสาทแห่งนี้ว่า ปราฮา (Praha) ซึ่งเป็นชื่อเรียกกรุงปรากในภาษาเช็ก

ต่อมาเจ้าชายวราติสลาฟที่ 1 (Vratislav I) พระราชโอรสในพระเจ้าบอริวอจได้ครองบัลลังก์สืบต่อ และได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเชื่อสายสลาฟผู้ไม่ศรัทธาในคริสต์จักร์ ดราโกมอีรา (DragomÍra) แต่เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงดราโกมอีราได้สำเร็จโทษพระราชินีลุดมีลา (Ludmila) โดยการรัดพระศอ เนื่องจากไม่สบพระทัยที่พระราชินีได้รับเลี้ยงพระนัดดาซึ่งเป็นพระโอรสของวราติสลาฟและพระนางเองให้ซื่อมั่นในศาสนาคริสต์ ซึ่งต่อมาหลังจากนั้นพระราชินีลุดมีลาก็ได้รับการเอ่ยนามให้เป็นนักบุญหญิง

เจ้าหญิงดราโกมีเอราได้ครอบครองราชย์บัลลังก์ต่อ และได้ยกอำนาจทั้งหมดให้ เจ้าชายเวนเซสลัส (Wenceslas) ในปี พ.ศ. 1464 (ค.ศ. 921) เฉลิมพระนามว่าเวนเซสลัสที่ 1 ดยุกแห่งโบฮีเมีย (Wenceslas I Duke of Bohemia, เช็ก: Svatý Václav)

เมื่อพระเจ้าเวนเซสลัสทรงมีอำนาจในการปกครองแผ่นดิน ก็ทรงประสานสัมพันธไมตรีกับชนชาติเยอรมัน และสนับสนุนระบอบคริสต์ พร้อมกับโปรดให้มีการสร้างมหาวิหารเซนต์วิตุสขึ้นในปี พ.ศ. 1468 (ค.ศ. 925) ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มเสนามนตรี รวมทั้งเจ้าหญิงดราโกมีเอราพระราชมารดา และเจ้าชายโบเลสลาฟ (Boleslav) พระเชษฐา ด้วยเหตุนี้ทั้งหมดจึงวางแผนลอบปลงพระชนม์ ซึ่งเมื่อ พระเจ้าเวนเซสลัสเสด็จมาหาเจ้าชายโบเลสลาฟ พระองค์ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ในขณะเดินทาง มีตำนานเล่าว่าในวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันที่พระโอรสของโบเลสลาฟประสูติ และได้รับพระนามว่า Strachkvas (ชัยชนะอันน่ากลัว)

พระนามของพระเจ้าเวนเซสลัสได้โด่งดังไปทั่วโลก โดยที่มีการเอ่ยพระนามของท่านในบทเพลงแห่งคริสต์มาส ในเพลงที่มีชื่อว่า Good King Wenceslas

เจ้าชายโบเลสลาฟได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อมาในปี พ.ศ. 1516 (ค.ศ. 973) บิชอฟอดัลเบิร์ต (Adalbert) บิช๊อฟชาวเช็กรูปแรกได้ถูงยิง และเมื่อหลังจากที่ท่านมรณภาพก็ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญที่สำคัญท่านหนึ่งของทั้งชาวเช็ก ชาวโปแลนด์ และ ชาวฮังการี

ต้นศตวรรษที่ 10 ปรากได้เป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่งในยุโรปตะวันออก มีหลายเชื้อชาติเข้ามาทำการค้า รวมถึง ชาวยิว ด้วย

เหตุการณฺสำคัญอื่นๆ มีดังนี้

  • พ.ศ. 1628 (ค.ศ. 1085) – เจ้าชายวราติสลาฟที่ 2 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงย้ายพระราชตำหนักมาพำนักที่ Vysehrad และโปรดให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำวอลตาวา (Vltava) โดยขนามนามสะพานนี้ว่าสะพาน Judith ซึ่งได้พังทลายลงเมื่อปี พ.ศ. 1885 (ค.ศ. 1342) และมีการสร้างสะพานคาร์ลูฟ (ภาษาเช็ก: Karlův, ภาษาอังกฤษ: Charles) ขึ้นมาแทนในอีก 15 ปีต่อมา
    พ.ศ. 1755 (ค.ศ. 1212) – เจ้าชาย Přemysl Otakar I ได้สานสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ผู้ยิ่งใหญ่ พร้อมกับได้มีการสถาปนาแคว้นโบฮีเมียให้เป็นอาณาจักร เจ้าชาย Přemysl Otakar I ทรงประสงค์ที่จะยก เจ้าหญิง Agnes พระราชธิดา ให้เป็นพระชายาแห่ง Frederick II แต่ เจ้าหญิง Agnesไม่ประสงค์ที่จะเข้าพิธีอภิเษกสมรส และทรงขอเข้าโบสถ์ถือศีลเป็นแม่ชีแทน
  • พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) – ได้มีการขยายตัวเมือง และแยกเมืองเก่า Strana และเมืองใหม่ Malá Strana (Little Quarter of Prague)
  • พ.ศ. 1843 (ค.ศ. 1300) – Přemysl Otakar เป็นกษัตริย์ที่ ทรงแสนยานุภาพมาก จนได้รับการขนานนามว่า King of Iron and Gold และได้ทรงครอบครอง แคว้นอื่นๆอีก 7 แคว้น ซึ่งรวมแคว้น Silesia ถึงฝั่งเอเดรีย ริมทะเลเอเดรียติก
  • พ.ศ. 1849 (ค.ศ. 1306) – ราชวงศ์ Přemyslovec สิ้นเชื้อสายฝ่ายชายมารับราชบัลลังค์ต่อ เจ้าหญิงเอลิสกา (Eliška) ได้สมรสกับกษัตริย์จอห์นแห่งราชวงศ์ลักเซ็มเบิร์ก ตั้งแต่นั้นมาราชวงศ์ ลักเซ็มเบิร์กจึงได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนนี้

มหาวิหารวิตุส

ในรัชสมัยของ กษัตริย์ Charl IV แห่งราชวงศ์ ลักเซ็มเบอร์ก ซึ่งเป็นพระโอรสใน กษัตริย์ Johnและ เจ้าหญิง Eliska เป็นยุคที่อารยธรรมเฟื่องฟู และมีการสร้าง มหาวิทยาลัยแห่งแรกของปราก ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า Chars University กษัตริย์ Charl IV ได้สร้างเมืองใหม่ซึ่งเรียกว่า Nové Mésto และได้ทรงให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ปราสาท Praha และ Vysehrad มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ Vltava โดยสะพานนี้มีการเฉลิมนามตามพระนามของพระองค์ คือสะพาน Charl Bridge กรุงปราก ถูกยกให้เป็น เมืองหลวงแห่งจักวรรดิ์โรมัน และกษัตริย์ Charl IV ได้ถูกยกให้เป็น Emprior ยุคนี้มีการก่อสร้างโบสถ์ อาคารต่างๆงดงาม แบบโกธิคผสมผสานการประดับประดาอาคารแบบโบฮีเมีย อาณาจักรโบฮีเมียยุคนั้นเรืองแสนยานุภาพมาก

  • พ.ศ. 1934 (ค.ศ. 1391) – มีกลุ่มแสดงความคิดอิสระ ประกาศตัวรวมกลุ่มกันได้ราว 3000 คน เพื่อต่อต้านความไม่เป็นธรรมทางศาสนาและสังคม
  • พ.ศ. 1936 (ค.ศ. 1393) – ในสมัยของกษัตริย์เวนเซสลัสที่ 4 (Wenceslas IV) พระราชโอรสแห่งกษัตริย์คาร์ลที่ 4 (Charl IV) ทรงออกหมายจับ John of Nepomuk (Jan Nepomucký) ซึ่งเป็นนักบวชผู้มีอำนาจ ทรงสั่งให้ทรมานเขา หลังจากนั้นได้โยนเขาจากสะพาน Charls ลงแม่น้ำ Vltava บนสะพาน Charl จะมีรูปปั้นของ John of Nepomuk และหินสลักแสดงเหตุการณ์ ตอนเขาถูกโยนลงจากสะพาน (นักท่องเที่ยวจะแย่งกัน สัมผัสหินสลักรูปนักบวชท่านนี้ เพื่อขอพร) John of Nepomuk ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบุญ ผู้โด่งดัง (มีการสันนิษฐานว่า John of Nepomuk นั้นไม่มีตัวตน และบางกระแสกล่าวว่า John of Nepomuk อาจจะเป็นคนเดียวกันกับ Jan Hus ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครพิสูจน์อะไรได้อย่างแจ้งชัด)
  • พ.ศ. 1958 (ค.ศ. 1415) – Jan Hus นักเทวะวิทยา และสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยมีชื่อ ได้เอ่ยความคิดเห็น และแนะนำการปฏิรูปด้านศาสนาขึ้นมาซึ่งสร้างความไม่พึงพอใจต่อทางฝ่ายบริหาร และระบอบศาสนา กษัตริย์ Wenceslas IV (เช็ก: Václav IV) ได้ลงโทษประหารเขา การตายของ Jan Hus นั้นก่อให้เกิดสงครามภายในประเทศถึง 4 ปี นักบวช Jan Zellvisky ได้เกิดความกดดันและประสงค์ที่จะล้างแค้นให้ Jan Hus เขาและพรรคพวกจึงจับผู้ปรึกษาแห่งนครปราค โยนลงมาจากหน้าต่างของอาคาร New Town Hall หลังจากนั้นอีก 16 วัน กษัตริย์ Wenceslas IV กษัตริย์ก็สิ้นพระชนม์
    เจ้าชาย Sigismund พระเชษฐาต่างพระมารดา ของกษัตริย์ Wenceslas IV ได้รับเชิญขึ้นครองราชย์แทน พวกนิยม Jan Hus ตั้งตนเรียกตนเองว่า Hussite โดยใต้การนำของนายพล Jan Žižka ต้องการแก้แค้น เจ้าชาย Sigismund เพราะเจ้าชาย Sigismund เป็นผู้วางแผนเชิญ Jan Hus เข้ามาปราศรัยในเมือง และรับปากว่าจะให้ความคุ้มครองเขา แต่ก็หาได้รักษาคำพูดไม่ ฝ่าย Hussite ได้ปะทะกับฝ่ายทหารที่ภูเขา Vitkov หลังจาก นายพล Jan žižka เสียชีวิตลง ฝ่าย Husité ก็แตกกระสานซ่านเซ็น มีการปะทะกับกองทหารที่เมือง Lipany ในปี 1434 แต่ฝ่าย Husité ก็ประสบความพ่ายแพ้

ปี 1437 Sigismund สิ้นพระชนม์ ได้หมดสิ้นเชื้อสายฝ่ายชายแห่งราชวงศ์ ลักเซ็มเบอร์ก กษัตริย์ Albert ดยุ๊ค แห่ง ออสเตรียซึ่งเป็นพระชามาดา(ลูกเขย)ของ Sigismund ได้ขึ้นครองราชย์เพียงสองปีก็สิ้นพระชนม์ ดังนั้น Ladislav Pohrobek ซึ่งเป็นพระนัดดาของ Sigismund จึงถูกเลือกมาเป็นกษัตริย์ต่อ แต่ก็สิ้นพระชนม์เมื่ออายุเพียง 17 พรรษา ดังนั้น George of Podebrady (เช็ก: Jiří z Poděbrad) นักบวชชาวโปรเตสแตนต์ ที่ปรึกษา ส่วนพระองค์ในราชวงศ์ Ladislav จึงถูกเลือกเป็นกษัตริย์ จากกลุ่มคาทอลิกและ พวก Husité ในกรุงปราค

สันตะปะปาหาได้เห็นชอบด้วยไม่ และระดมกองพลคริสต์ ทำสงครามครูเสดต่อต้านโบฮีเมีย ภายใต้การนำทัพของ กษัตริย์ Matthius Corvinus แห่งฮังการี สงครามนี้ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง จนกระทั่งทั้งสองฝ่ายตกลงทำสนธิสัญญาสงบศึก โดยตกลงให้โบฮีเมียถูกปกครองโดยกษัตริย์สององค์ คือกษัตริย์ Matthius Corvinus และกษัตริย์ George of Podebrady เมื่อกษัตริย์ George ซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์ได้พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับฝ่ายคาทอลิก ทำให้พวกโปรเตสแตนต์ต่างโกรธเคือง และรวมพลกันจับผู้ว่าราชการเมืองโยนหน้าต่าง

ก่อนที่กษัตริย์ George จะสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้หาทายาทแห่งบัลลังก์ไว้ โดยท่านได้รับปากกษัตริย์ Casimir IV แห่งโปแลนด์ว่า กษัตริย์แห่งโบฮีเมียองค์ต่อไปจะมาจากราชวงศ์ Jagellon เพราะพระมเหสีของกษัตริย์ CasimirIV นั้นเป็นพระภคินีของ Ladislav Pohrobek ราชวงศ์ Jagellon ครองโบฮีเมียได้ ถึงเพียงปี 1526 ก็หมดสิ้นผู้สืบทอดราชวงศ์ฝ่ายชายอีก

กษัตริย์องค์ต่อมาของโบฮีเมียก็คือ Ferdinand Habsburg กษัตริย์องค์นี้สืบเชื้อสายมาจากเยอรมัน ซึ่งฝักใฝ่ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกมาก ในขณะที่พลเมืองปรากโดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

  • พ.ศ. 2084 (ค.ศ. 1541) – ไฟไหม้กรุงปราก และทำลายส่วนหนึ่งของปราสาทลง ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาท
  • พ.ศ. 2089 (ค.ศ. 1546) – ความไม่ลงรอยกันระหว่าง กษัตริย์ Ferdinand และพลเมืองซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อในเยอรมันเกิดสงครามศาสนา ฝ่ายโปรเตสแตนต์ในปรากปฏิเสธที่จะไปช่วยกษัตริย์ Ferdinand ในการสงคราม กษัตริย์ Ferdinandและกองพลของพระองค์ไปช่วยรบให้ฝ่ายคาทอลิก จนได้ชัยชนะที่เมือง Mühlberg เยอรมนี

  • พ.ศ. 2090 (ค.ศ. 1547) – และเมื่อพระองค์กลับมาปราก ได้ทรงลงโทษ ชาวปรากเผ่าต่างๆที่ไม่ยอมช่วยสงคราม มีการริบทรัพย์ บังคับให้ส่งส่วย มีการฆ่า ประจาร และหน่วยงานต่าง ๆ พระองค์จะส่งทหารไปคุม
  • พ.ศ. 2104 (ค.ศ. 1561) – มีการรื้อฟื้นองค์กรคริสตจักร์ต่าง ๆ มีการบูรณะศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ถึงแม้กษัตริย์ Ferdinand จะสังหารชาวปรากมากมาย แต่พระองค์ ทรงปรนเปรอพวกพระราชนิกูลเชื้อสายปราก เพื่อป้องกันการเกิดการรวมตัวกันเพื่อก่อการกบฏ
  • พ.ศ. 2119 – 2154 (ค.ศ. 1576 – 1611) – กษัตริย์ Rudolf II นิยมในศิลปะมาก พระองค์ทรงสั่งช่างฝีมือ หลายหมู่เข้ามาในปราก มีการสร้างสถาปัตยกรรมสวยงามแบบบารอค ในขณะที่ Matthius พระเชษฐาของ Rudolf II ได้ทำการตีสนิทกับพวกผู้นำฝ่ายศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
  • พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609) – กษัตริย์ Rudolf II ทรงอนุญาตให้ประชาชนมีเสรีภาพทางศาสนา
  • พ.ศ. 2154 (ค.ศ. 1611) – จักรวรรดิโรมันไม่พอใจกับพฤติกรรมของ กษัตริย์ Rudolf II และได้ปลดพระองค์ออกจากการเป็นกษัตริย์ Matthius ได้รับสถาปนาให้เป็นกษัตริย์แทน เมื่อพระองค์มีอำนาจในบัลลังค์ก็ได้ตัดสัมพันธไมตรีต่อพวกผู้นำฝ่ายศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์โดยสิ้นเชิง
  • พ.ศ. 2160 (ค.ศ. 1617) – กษัตริย์ Ferdinand II ขึ้นครองราชย์ต่อ และได้ทำแบบเดียวกับ กษัตริย์ Matthius โดยตอนแรกให้สิทธิเสรีเผ่าพันธุ์อื่นด้านศาสนา หลังจากนั้นก็ ลิดรอนสิทธิ บางครั้งถึงกับมีการขับไล่ หรือประหารพวกโปรเตสแตนต์
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2161 (ค.ศ. 1618) – พวกโปรเตสแตนต์ ได้รวมตัวจับผู้ว่าราชการเมือง นาย Slavat กร๊าฟ Martinicz และสายลับ Philipp Fabricus โยนออกทางหน้าต่างซึ่งสูง 16 เมตร แต่ทั้งสามนายรอดชีวิตมา ต่อมาได้มีการจลาจลในประเทศ และพวกโปรเตสแตนต์ก็ได้เลือก Frederick V แห่ง Palatine เยอรมนี มาเป็นกษัตริย์
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2163 (ค.ศ. 1620) – มีการทำสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์กับจักรวรรดิโรมันซึ่งสนับสนุนนิกายคาทอลิก พวกโปรเตสแตนต์พ่ายแพ้
  • 21 มิถุนายน พ.ศ. 2164 (ค.ศ. 1621) – มีการทรมาน และประหารผู้พ่ายแพ้สงคราม มีการตัดหัวผู้นำฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาเสียบประจานไว้ที่สะพานชาร์ลเป็นเวลาถึง 10 ปี Frederick V แห่ง Palatine เยอรมนี ได้หลบหนีไปที่ฮอลแลนด์ เนื่องจากวาระที่ครองราชย์นั้นสั้น นัก ท่านจึงได้ฉายานามว่า The winter king (หรือ Zimní král) พวกโปรเตสแตนต์ถูกล่า และถูกบังคับให้เข้ารีตเป็นคาธอลิก
  • พ.ศ. 2283 – 2285 (ค.ศ. 1740 – 1742) – ออสเตรียและปรัสเซียแย่งสิทธิใการยึดครองโบฮีเมีย ฝ่ายบาวาเรีย และปรัสเซีย ตั้งให้เจ้าชาย Albert แห่งบาวาเรียเป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย
  • พ.ศ. 2283 – 2285 Ferdinand II ของปรัสเซีย ได้พาทหาร 80.000 นาย เข้ามาปล้นระดมโบฮีเมีย แต่กองพลของออสเตรียก็ออกมาลุกไล่ทหารปรัสเซียออกไปจากพื้นที่ได้
  • 1757 Ferdinand II ของปรัสเซีย ได้ยกพล ราว 100.000 นาย มาปล้นระดมโบฮีเมีย อีกครั้ง มีการลงระเบิด 25.000 ลูก และ ยิงกระสุนปืนใหญ่ 80.000 ลูก แต่ก็ถูกกองทหารออสเตรียขับไล่ออกนอกประเทศอีก
  • 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2286 (ค.ศ. 1743) – จักรพรรดินีมาเรีย เทเรเซียแห่งออสเตรีย ได้รับการเทอดพระเกียรติเป็นพระราชินีแห่งโบฮีเมีย ฮังการี และโครเอเชีย มีการฉลองพิธีรัชดาภิเษกที่มหาวิหารวิตุส
  • พ.ศ. 2300 – 2333 (ค.ศ. 1757 – 1790) จักรพรรดินีมาเรียทรงตั้งกฎเกณฑ์ให้มีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก
  • พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774) – มีกฎระเบียบการศึกษาภาคบังคับ
  • พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) – มีการปิดโบสถ์ต่างๆที่ไม่มีการใช้บรีการมานาน
  • พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1784) – มีการบริหารท้องที่ โดยเริ่มมีการติดตั้งบ้านเลขที่ เพื่อง่ายต่อการปกครอง
  • พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) – Edvard Thomas นักอุตสาหกรรมชาวอังกฤษไปเปิดโรงงานสร้างเรถจักรไอน้ำที่เมือง Kalin
  • พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) – มีการก่อตั้งสถานีรถไฟแห่งแรก
  • พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) – สภาสโลเวเนีย ซึ่งประกอบไปด้วย เช็กเกีย สโลวีเนีย สโลวาเกีย เซอร์เบีย โครเอเชีย โปแลนด์ และรัสเซีย สนับสนุนให้ชาวเช็กมีสิทธิในด้านการสื่อสารและภาษาอย่างเท่าเทียมกับภาษาเยอรมัน
  • พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) เยอรมนีแพ้การเลือกตั้ง ชาวเช็กได้รับเลือกโดยเสียงข้างมาก และมีการตั้ง Dštross เป็นผู้ว่าการกรุงปราก
  • พ.ศ. 2407 – 2411 (1864 – 1868) สงครามโลกครั้งที่ 1 มีการเคลื่อนไหวอย่างลับๆของกลุ่มผู้ต้องการอิสรภาพ ภายใต้การนำของชาวเช็ค Tomáš Garrigue Masaryk, Edvard Beneš และ R. Štefánik ซึ่งเป็นชาวสลาฟ เมื่อออสเตรียแพ้สงคราม มีการขนามขนามโบฮีเมียว่า Czechoslovakia และ Tomáš Garrigue Masaryk ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของ Czechoslovakia เช็ก: Československo.
  • ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ได้ส่งกองทหารเข้ายึดเชโกสโลวาเกียมีการสังหารล้างผลาญชาวยิวมากมาย 1942 ผู้นำนาซี Reinhard Heydrich ถูกลอบสังหาร ฮิตเล่อร์โกรธและสั่งให้มีการฆ่าล้างแค้น มีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตมากมาย ปลายสงคราม กองทัพอากาศอเมริกันได้โยนระเบิดถล่มกรุงปราก เนื่องจากมีการเล็งเป้าหมายผิดคิดว่าเป็นเมืองเดรสเดินของเยอรมนี ซึ่งห่างออกไปราว 83 ไมล์จากกรุงปราก มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยและอาคารสำคัญถูกทำลายลงหลายหลัง หลังจากนั้นเช็กโกสโลวาเกียก็ถูก รัสเซียเข้าครองขับไล่ทหารเยอรมันออกไป มีการฆ่าล้างแค้น ชาวเมืองเชื้อสายเยอรมันผู้บริสุทธิ์มากมายจนกระทั่งรัฐบาลเช็กโกสโลวาเกียออกมาสั่งห้าม และลำเลียงชาวเยอรมันออกนอกประเทศ เพื่อลี้ภัยเข้าสู่เยอรมนีตะวันตก
  • พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – Edvard Beneš ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี ในขณะนั้นเขายังอยู่ในการลี้ภัย ผู้สนับสนุนแกนสำคัญของเขาคือ Jan Masaryk และ Gottwald
  • พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – ผลแห่งการเลือกตั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับเสียงข้างมาก
  • พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – Beneš ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญที่ถูกร่างขึ้นมา จึงไม่ยอมลงนาม และลาออกจาการเป็นประธานาธิบดี นาย Gottwald ผู้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ถือโอกาสตั้งตนเป็นประธานาธิบดี นาย Jan Masaryk ผู้ไม่เห็นด้วยกับระบอบคอมมิวนิสต์ถูกลอบสังหารโดยมีผู้พบศพเขา ซึ่งถูกโยนมาจากหน้าต่างในห้องที่เขาทำงานอยู่
  • พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – Klement Gottwald ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี
  • พ.ศ. 2494 – 2495 (ค.ศ. 1951 – 1952) – มีการสังหารชาวเช็กซึ่งไม่เห็นด้วยกับระบอบคอมมิวนิสต์อยู่เนือง ๆ
  • พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) – Antonin Zápotocký ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีต่อจาก Gottwald ผู้วายชนม์
  • พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) – Antonin Novotný ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีต่อจาก Zápotocký ผู้วายชนม์
  • พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – ระบอบคอมมิวนิสต์ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง
  • พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) – Alexander Dubček ได้รับการเลือกให้เป็นผู้นำ เขาเริ่มให้สิทธิเสรีภาพด้านการเขียนและการออกข่าวแก่ชาวเช็ก ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่เลโอนิด เบรจเนฟ แห่งสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะเมื่อเขาเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองในประเทศเชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย และรูเมเนีย
  • กรกฎาคม พ.ศ. 2511 – ถึงแม้ว่า Alexander Dubček จะได้รับการติงและเตือนจากสหภาพโซเวียต แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองของเขาอย่างที่เขาเห็นชอบไปตามปกติ
  • 22 สิงหาคม พ.ศ. 2511 – Alexander Dubček ถูกบีบบังคับจากสหภาพโซเวียต เขาถูกจับไปสอบสวนและถูกข่มขู่ สิ่งที่ทำให้เขาต้องทรมานใจมากที่สุด ก็คือการที่เขาต้องรายงานให้ประชาชนของเขาทราบเกี่ยวกับการลงนามในสัญญากับสหภาพโซเวียต ทำให้ประชาชนชาวเชโกสโลวาเกีย มองเห็น Alexander Dubcéx ผู้นำของเขาว่าเป็นทรราชย์ผู้ทรยศต่อเผ่าพันธุ์ของเขาเอง
  • พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – Gustáv Husák ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป
  • พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ลงนามยกเลิกนโยบายทางการเมืองในยุโรปตะวันออก หลังจากนั้นประเทศโปแลนด์ ฮังการี บัลกาเรีย ก็เริ่มปลีกตัวออกจากสหภาพโซเวียต อีกต่อมาประเทศเชโกสโลวาเกียก็เริ่มปลีกตัวออกมาบ้าง
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 – มีการเดินขบวนกลางกรุงปราก มีการก่อการจลาจล ทางการได้ออกคำสั่งให้มีการอนุญาตทุบตีผู้เดินขบวน
  • 24 พฤศจิกายน – Milouš Jakeš ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งบริหารประเทศในขณะนั้นได้ลาออกพร้อมคณะผู้บริหารอีก 13 นาย
  • 29 พฤศจิกายน – มีการเดินขบวนกลางกรุงปรากของกลุ่มคนราว 1.5 ล้านคน ในการนี้มีนักศึกษาสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก Václav Havel กวีและนักเขียน ได้เป็นแกนนำแห่งฝ่ายต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์
  • 30 พฤศจิกายน – มีการเปิดสิทธิเสรีภาพในการเดินทางออกนอกประเทศ
  • 29 ธันวาคม – Václav Havel ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี
  • พ.ศ. 2533 – 2535 (ค.ศ. 1990 – 1992) – มีการปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศ
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) – มีการแบ่งเชโกสโลวาเกียออกเป็นสองสาธารณรัฐอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ได้แก่ สาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – Václav Havel ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเช็ก
  • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – Václav Klaus ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐเช็ก
  • พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – Václav Klaus ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนต่อมาของสาธารณรัฐเช็ก
สะพานชาลส์ กรุงปราก

สะพานชาลส์ กรุงปราก

สะพานชาลส์ (Charles Bridge) เป็นสะพานประวัติศาสตร์ ข้าม […]