เบอร์ลิน เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป

เบอร์ลินเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่มีอิทธิพลที่สุดของยุโรป ในด้านการเมือง วัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และวิทยาการ เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการคมนาคมทางอากาศและทางรางของทวีป พื้นฐานเศรษฐกิจของเมืองคือธุรกิจบริการอันหลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมการสร้างสรรค์ บริษัทด้านสื่อ การบรีการสิ่งแวดล้อม ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า เบอร์ลินเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับสามของยุโรป อุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึง วิศวกรรมจราจร ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ ไอที อุตสาหกรรมยานยนต์ สุขภาพ วิศวกรรมชีวการแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ

มหานครแห่งนี้เป็นบ้านของมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย การแข่งขันกีฬา ออร์เคสตรา พิพิธภัณฑ์ และบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลกจำนวนมาก ภูมิทัศน์นครและมรดกทางประวัติศาสตร์ของเบอร์ลินทำให้มันนิยมถูกใช้เป็นฉากสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ นครแห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องเทศกาล สถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะแนวทดลอง (อาวองการ์ด) ชีวิตกลางคืน และคุณภาพชีวิต ในระหว่างทศวรรษที่ผ่านมาเบอร์ลินได้วิวัฒน์ไปสู่จุดรวมของปัจเจกชนและศิลปินหนุ่มสาวมากมายหลากหลายชาติจากทั่วโลก ที่ถูกดึงดูดด้วยวิถีชีวิตแบบเสรีและจิตวิญญาณแห่งกาลเวลาสมัยใหม่ (modern zeitgeist)

เบอร์ลินตั้งอยู่บนแม่น้ำสปรีและฮาเฟลทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี ห้อมล้อมด้วยรัฐบรานเดนบวร์ก มีพื้นที่ 891.75 ตารางกิโลเมตร ในสมัยก่อน เบอร์ลินเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรานเดนบวร์กก่อนจะแยกการปกครองออกเป็นนครรัฐต่างหากรัฐหนึ่ง

ชื่อ Berlin ซึ่งออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า /bɚˈlɪn/ และในภาษาเยอรมันว่า เกี่ยวกับเสียงนี้ /bɛɐˈliːn/ (วิธีใช้·ข้อมูล) นั้นไม่ทราบแหล่งที่มา แต่อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยคำภาษาโปลาเบียนเก่า berl-/birl- ซึ่งหมายถึง “หนองน้ำ”

เบอร์ลินได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ครั้งแรกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยได้เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรปรัสเซีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1701), จักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1871-1918), สาธารณรัฐไวมาร์ (ค.ศ. 1919-1932) และจักรวรรดิที่สาม (ค.ศ. 1933-1945)

คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 19

เบอร์ลินได้กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเยอรมัน ใน ค.ศ. 1871 หลังการประกาศก่อตั้งใน Versailles-France (บิสมาร์คอยู่ตรงกลางในชุดขาว)
สงครามสามสิบปีระหว่าง ค.ศ. 1618 และ 1648 ทำให้เบอร์ลินได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง บ้านเรือนหนึ่งในสามเสียหาย และประชากรลดเหลือครึ่งเดียว เฟรเดอริก วิลเลียม “เจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งสืบอำนาจเป็นผู้ปกครองต่อจาก จอร์จ วิลเลียม ผู้บิดาใน ค.ศ. 1640 ได้ริเริ่มนโยบายส่งเสริมการอพยพย้ายถิ่นและเสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้วยกฤษฎีกาแห่งพอทสดัม (Edict of Potsdam) ใน ค.ศ. 1685 เฟรเดอริกได้เสนอที่ลี้ภัยให้กับพวกฮิวเกอโนต์ซึ่งเป็นพวกโปรเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส ฮิวเกอโนต์มากกว่า 15,000 คนได้มายังบรานเดนบวร์ก ในจำนวนนั้น 6,000 คนตั้งถิ่นฐานในเบอร์ลิน ใน ค.ศ. 1700 ประมาณร้อยละยี่สิบของผู้อยู่อาศัยในเบอร์ลินเป็นชาวฝรั่งเศส และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพวกเขาแก่เมืองนั้นมีมหาศาล ผู้อพยพอื่น ๆ จำนวนมากมาจากโบฮีเมีย โปแลนด์ และซาลซ์บูร์ก

คริสต์ศตวรรษที่ 20

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเบอร์ลินถูกแยกเป็นสองส่วน ระหว่างปี พ.ศ. 2492-2533 คือ เบอร์ลินตะวันออก และ เบอร์ลินตะวันตก ฝั่งตะวันออกปกครองโดยสหภาพโซเวียต ส่วนฝั่งตะวันตกปกครองโดย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส โดยในช่วงแรก การแบ่งเขตเป็นไปอย่างไม่เคร่งเครียดนัก ประชาชนของทั้งสองฝั่งสามารถไปมาหาสู่กันได้ จนกระทั่งสงครามเย็นถึงจุดตึงเครียด รัฐบาลเบอร์ลินตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก ตัดขาดสองฝั่งของเมืองออกจากกันอย่างสิ้นเชิง

ช่วงที่เยอรมนียังถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ ประเทศเยอรมนีตะวันออกถือเอาเบอร์ลินตะวันออกเป็นเมืองหลวงของตน (แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาติพันธมิตรตะวันตก) ส่วนเมืองหลวงของประเทศเยอรมนีตะวันตกคือบอนน์ (และโดยฐานะอย่างเป็นทางการแล้ว เบอร์ลินตะวันตกก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันตก) หลังจากการรวมประเทศเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 เบอร์ลินก็กลับมาเป็นเมืองหลวงของประเทศเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง

เบอร์ลินตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของเยอรมนี ประมาณ 70 กม. (44 ไมล์) ทางตะวันตกของพรมแดนโปแลนด์ ภูมิประเทศของเบอร์ลินนั้นถูกกัดเซาะให้เป็นอย่างปัจจุบันโดยธารน้ำแข็งระหว่างยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ใจกลางเมืองทอดตัวตามแนวแม่น้ำสปรี ในหุบเขาธารน้ำแข็งโบราณเบอร์ลิน-วอร์ซอ (Berlin-Warsaw Urstromtal) ซึ่งก่อตัวโดยน้ำที่ไหลละลายจากธารน้ำแข็งในตอนสิ้นสุดยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด

หุบเขาธารน้ำแข็งโบราณดังกล่าวทอดตัวระหว่างที่ราบสูงบาร์นิมตอนล่าง (low Barnim) ไปทางเหนือ และที่ราบสูงเทลโทว์ (Teltow) ไปทางใต้ แม่น้ำสปรีบรรจบกับแม่น้ำฮาเฟล ที่เขตสปันเดา ทางตะวันตกสุดของเบอร์ลิน โดยไหลจากทางตอนเหนือไปทางตอนใต้ผ่านเบอร์ลินตะวันตก เส้นทางของแม่น้ำฮาเฟลนั้นเหมือนกับทะเลสาบที่เชื่อมกัน โดยแห่งที่ใหญ่ที่สุดคือ ทะเลสาบเทเกเลอร์เซ (Tegeler See) และ โกรซเซอร์วานเซ (Großer Wannsee) มีชุดทะเลสาบจำนวนหนึ่งไหลสู่แม่น้ำสปรีตอนบนเช่นกัน โดยไหลผ่านทะเลสาบโกรซเซอร์มึงเกิลเซ (Großer Müggelsee) ในเบอร์ลินตะวันออก

ภูมิทัศน์

หน้าตาของนครเบอร์ลินในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากบทบาทนำของมันในประวัติศาสตร์เยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐบาลแห่งชาติแต่ละชุดล้วนตั้งอยู่ในเมืองแห่งนี้ — จักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1871, สาธารณรัฐไวมาร์, นาซีเยอรมนี, เยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีในปัจจุบันที่รวมกันเป็นหนึ่งอีกครั้ง — ได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างอันทะเยอทะยานมากมาย แต่ละโครงการล้วนมีคุณลักษณะโดดเด่นในตัวเอง เบอร์ลินถูกทำลายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดหลายครั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อาคารเก่าหลายหลังที่รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ทั้งในฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก การรื้อถอนดังกล่าวจำนวนมากริเริ่มโดยโครงการสถาปัตยกรรมระดับเทศบาล เพื่อสร้างย่านที่พักอาศัยหรือย่านธุรกิจและถนนสายหลัก ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครเหมือนของเบอร์ลินได้ก่อร่างสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์อันน่าตื่นตาของเมืองแห่งนี้

ในฝั่งตะวันออก เราจะพบอาคาร “พลาทเทนเบา” (Plattenbau เป็นอาคารที่ส่วนต่าง ๆ ถูกสร้างสำเร็จจากที่อื่นและถูกขนมาประกอบ ณ ที่ก่อสร้าง) จำนวนมาก ซึ่งหวนให้นึกถึงความทะเยอทะยานของโลกตะวันออก (Eastern Bloc) ที่จะสร้างบริเวณที่พักอาศัยอันสมบูรณ์แบบ ด้วยสัดส่วนคงที่ของร้านค้า สถานเลี้ยงเด็ก และโรงเรียน

ความต่างเล็กน้อยระหว่างฝั่งตะวันออกเดิมและฝั่งตะวันตกเดิมอีกอย่างก็คือการออกแบบตัวคนสีเขียวสีแดงในไฟจราจรที่ทางข้ามถนน (อัมเพิลแมนเชน Ampelmännchen ในภาษาเยอรมัน); แบบของฝั่งตะวันออกนั้นถูกคงเอาไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ในระหว่างการเปลี่ยนสัญญาณจราจรทั่วเยอรมนีให้เป็นแบบเดียวกันหมดภายหลังการรวมประเทศ อัมเพิลแมนเชนแบบตะวันออกนั้นในปัจจุบันถูกใช้ในฝั่งตะวันตกของเมืองเช่นกัน

อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของเบอร์ลินอยู่ที่ 9.4 °C และมีระดับน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีที่ 578 มม. เดือนที่อุ่นที่สุดคือมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม โดยมีอุณหภูมิระหว่าง 16.7 ถึง 17.9 °C และหนาวที่สุดในเดือนธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ ระหว่าง −0.4 ถึง 1.2 °C พื้นที่สิ่งปลูกสร้างของเบอร์ลินนั้นสร้างสภาพอากาศประจำถิ่น (ไมโครไคลเมต) ความร้อนจะถูกกักเก็บไว้ในอาคารต่าง ๆ อุณหภูมิในเมืองอาจสูงกว่าบริเวณรอบ ๆ อยู่ 4 °C ตามระบบแบ่งภูมิอากาศแบบเคิปเปน สภาพอากาศของเบอร์ลินเป็นแบบภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfb)

สภาพอากาศใน กรุงเบอร์ลิน

กำแพงเบอร์ลิน

เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนระหว่างเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตะวันตก กับเยอรมนีตะวันออกที่โอบอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนถูกทลายในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

ในเยอรมนีตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม มันถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “แนวป้องกันการต่อต้านฟาสซิตส์” แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ

นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 137 ถึง 206 คน  อ่านเพิ่ม..

แหล่งช้อปปิ้งเบอร์ลิน

มีอยูหลายย่านด้วยกัน คือ ย่านถนนเทาเอ็นท์เซียน (Touentzien) ถนนคานท์ (Kant) ถนนฟริดริช (Friendrich) หรือ ซาวิกนี่ พลัทส์ (Savignyplatz) มีร้านบูติกมากมายให้เลือกซื้อหา และยังมี H&M สาขาส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีสินค้าทันสมัยมากมาย โดยเฉพาะเสื้อผ้าราคาถูกสำหรับวัยรุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีห้างชริล (Schrill) ตั้งอยู่ที่ ถนนไบลบ์ทรอย (Bleibtreu) มีสินค้าทุกชนิดที่คุณต้องการ

AlexanderPlatz ย่านจตุรัสอเล็กซานเดอร์

Alexanderplatz เป็นศูนย์กลางของผู้เดินทางสัญจรและการขนส่ง รวมทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่แหล่งช้อปปิ้งชั้นสูงไปจนถึงจุดชมเมืองมุมกว้าง ชื่อของจัตุรัสแห่งนี้ตั้งชื่อตามพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ต่อมาก็กลายเป็นศูนย์กลางของเยอรมนีตะวันออกในช่วงสงครามเย็น ปัจจุบัน “Alex” ได้รวบรวมความหรูหราจากทั่วทุกสารทิศมาไว้ในใจกลางมหานครฝั่งตะวันตก

ที่นี่มีร้านขายปลีกชื่อดังอย่าง H&M และห้างสรรพสินค้าของเยอรมันอย่าง Alexa และ Kaufhof อีกทั้งยังเป็นจุดหมายปลายทางชั้นยอดสำหรับผู้ชื่นชอบอาหารอีกด้วย Hackescher Markt ซึ่งอยู่ใกล้เคียงประกอบไปด้วยร้านอาหารและคาเฟ่นับสิบร้าน หลายร้านเป็นแบบนั่งรับประทานกลางแจ้งและเน้นหนักไปที่อาหารเยอรมัน อิ่มหนำกับอาหารว่างประเภทไส้กรอกแบบท้องถิ่นอย่างเคอร์รี่เวิร์สต์และตามด้วยเบียร์รสชาติเก่าแก่หนึ่งเหยือก โดยปกติมักจะมีนักแสดงข้างถนนคอยสร้างความบันเทิงขณะที่คุณกำลังรับประทานอาหาร

Checkpoint Charlie

อนุสรณ์สถานสมัยสงครามเย็นแห่งนี้ครั้งหนึ่งเป็นชนวนแห่งความตึงเครียดและสร้างความสะเทือนใจต่อผู้คนที่พยายามหลบหนี ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในเบอร์ลิน

Checkpoint Charlie เคยเป็นจุดข้ามกำแพงเบอร์ลินจุดหลักสำหรับทหาร ชาวต่างชาติและนักการฑูตของฝ่ายสัมพันธมิตร ป้ายชื่อดังอย่าง “You are now leaving the American sector” ยังคงอยู่ ถือเป็นอนุสรณ์สถานสมัยสงครามเย็นที่แบ่งแยกเบอร์ลินออกจากกันระหว่างปี 1961 และปี 1989 นอกจากนี้ยังมีป้อมจำลองเพื่อเตือนให้ชาวเบอร์ลินระลึกถึงความหวาดกลัวและความหวาดวิตกทุกวัน ที่แห่งนี้อยู่บน Friedrichstrasse ซึ่งเป็นถนนสายหลักในเบอร์ลินตอนกลาง

ประตูบรันเดนบูร์ก Brandenburg

ประตูบรันเดนบูร์ก อีกหนึ่งสัญลักษณ์เมืองเบอร์ลิน เป็นสัญลักษณ์ของการรวมชาติเยอรมัน มีการจัดงานและพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งการเฉลิมฉลองอยู่ตลอด ทั้งปีใหม่ หรือเทศกาลเชียร์ฟุตบอล ตั้งอยู่ระหว่างอาคาร Reichstag และ Holocaust Memorial ซึ่งลักษณะของประตูบรันเดนบูร์กจะเป็นซุ้มประตูขนาดใหญ่ที่สร้างในสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก โดยจำลองแบบมาจากวิหาร Acropolis ในเอเธนส์ เพื่อใช้เป็นทางเข้าสู่ Unter den Linden ซึ่งเป็นถนนที่ใหญ่ที่สุดในเบอร์ลินค่ะ จุดนี้นักท่องเที่ยวนิยมมาเดินเล่นและถ่ายรูปกันเยอมาก เพราะไม่เพียงแค่ความสวยของประตูเท่านั้นนะคะ ที่ดึงดูดใจ แต่เพราะว่าประตูบรันเดนบรูกส์นั้นตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ Friedrichstrasse ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนแห่งการช้อปปิ้งของเบอร์ลินนั่นเอง

ตึกรัฐสภา ไรซส์ทาค

อาคารไรชส์ทาค หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาคารที่ประชุมใหญ่ไรชส์ทาค เป็นสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิเยอรมันเพื่อเป็นประชุมของรัฐสภาเยอรมัน (ไรชส์ทาค) อาคารนี้เริ่มใช้งานในปีค.ศ. 1894 จนกระทั่งถูกวางเพลิงในปีค.ศ. 1933 เหตุวางเพลิงสร้างความเสียหายอย่างมากแก่อาคารนี้ทำให้มันถูกปล่อยทิ้งร้างกว่าสี่ทศวรรษ เมื่อมีการรวมประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1990 ก็มีการบูรณะอาคารนี้โดยสถาปนิกนอร์มัน ฟอสเตอร์ การบูรณะเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1999 และถูกใช้เป็นอาคารรัฐสภาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (บุนเดสทาค) มาตั้งแต่บัดนั้น

มหาวิหารเบอร์ลิน Berliner Dom

มหาวิหารเบอร์ลิน (Berlin Dom) มหาวิหารนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเบอร์ลิน โดยมหาวิหารถูกสร้างในระหว่างปี 1894-1905 ในรูปแบบสไตล์อิตาเลียนเรอเนสซองส์ มหาวิหารเป็นที่ทำพิธีการเจิมน้ำมนต์ เข้าพิธีอภิเษกสมรส และใช้เป็นสถานที่ฝังศพของสมาชิกในราชวงศ์ ซึ่งบริเวณชั้นใต้ดินของมหาวิหารแห่งนี้ มีหลุมฝังศพของราชวงศ์โฮเฮ่นซอลเลิร์น

มหาวิหารแห่งเบอร์ลินได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1944 โดมของวิหารถูกระเบิดเสียหายยับเยิน หลังสงครามโลกมหาวิหารแห่งนี้คงสภาพเป็นซากปรักหักพัง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1975 จึงได้รับการบูรณะอย่างเต็มที่จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1993

พิพิธภัณฑ์เพอร์กามอน

เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งสุดท้ายในเกาะพิพิธภัณฑ์ หรือ Museum Island ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดศูนย์กลางของกรุงเบอร์ลินบนแม่น้ำสปรี ซึ่งเป็นเกาะที่มีความสำคัญเต็มไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญระดับโลก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโกเมื่อปี 1999 ทั้งนี้ภายในเกาะก็จะประกอบไปด้วยพิพิธภัณฑ์อยู่ 5 แห่ง ได้แก่ Bode Museum, Pergamon Museum, Neues Museum, Alte Nationalgalerie and Altes Museum แต่เราเลือกที่จะมาพิพิธภัณฑ์เพอร์กามอน เพราะที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศเยอรมนี โดยตั้งชื่อตาม แท่นบูชาเพอร์กามอน บูชาเทพเจ้าซุส สมบัติอันล้ำค่า อายุราว 180 ปีก่อนคริสตกาลที่พังทลายลง และถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวเยอรมัน จากเมืองเฮลเลนิกโบราณแถบเอเซียไมเนอร์ หรือตุรกีตะวันตกในปัจจุบัน นักโบราณคดีได้ขนชิ้นส่วนหน้า และชิ้นส่วนภาพสลักมาประกอบติดตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยใช้เวลาสร้างนานถึง 20 ปี นอกจากนี้ข้างในยังมีการจัดแสดงทั้งสถาปัตยกรรมแบบกรีก-โรมัน ศิลปะแบบอิสลามจากตะวันออกกลาง อิหร่าน จอร์แดน เปอร์เซีย รวมไปถึงของโบราณจากซีเรีย เมโสโปเตเมีย อัสซีเรีย เป็นต้น

ฮอโลคอสต์

โฮโลคอสต์ (อังกฤษ: The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน